อัพอกให้สวยโดนใจ ทำนมไซส์ไหนดี ให้เหมาะกับตัวเอง

ปกบทความทำนมไซต์ไหนดี

หน้าอก เป็นอวัยวะหนึ่งของผู้หญิงที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัวได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้หญิงที่มีหน้าอกขนาดเล็ก สามารถแก้ไขปัญหากวนใจนี้ได้ด้วยการอัพอก โดยผู้เข้ารับการศัลยกรรมควรเลือกไซส์หน้าอกที่เหมาะสมกับร่างกาย สรีระ และความพอใจ และหากสงสัยว่าจะทำนมไซส์ไหนดี ที่นี่มีคำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการเสริมหน้าอกให้สวยงามมากขึ้น

ไซส์ของการเสริมหน้าอก

1. ทำความเข้าใจกับไซส์ของการเสริมหน้าอก

รู้หรือไม่ว่า ขนาดของการอัพอก และขนาดของคัพหน้าอกทั่วไป อาจมีหน่วยการวัดที่แตกต่างกันเล็กน้อย คือการเสริมหน้าอกจะใช้หน่วยเป็น CC ย่อมาจากลูกบาศก์เซนติเมตร ในขณะที่หน้าอกทั่วไปจะใช้หน่วยเป็น คัพ และใช้วิธีการวัดเป็นเซนติเมตร ซึ่งวัสดุที่ใช้มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ ซิลิโคน ไขมันตนเอง และผสมผสาน รวมไปถึงขนาดหน้าอกแต่ละ cc ก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

เสริมหน้าอก 200cc

เสริมหน้าอก 200cc

ทำนมกี่ cc เริ่มมาดูที่การทำศัลยกรรมหน้าอกขนาด 200 cc เป็นขนาดที่ทำให้หน้าอกที่เสริมใหญ่กว่าหน้าอกเดิมประมาณ 1 คัพ เท่านั้น ส่งผลให้ดูเป็นธรรมชาติและไม่สะดุดตามากเท่าไรนัก เหมาะสำหรับคนที่ต้องการอัพอกเพียงเล็กน้อย

เสริมหน้าอก 250cc

เสริมหน้าอก 250cc

หน้าอกที่ใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อยคือ 250 cc เป็นขนาดที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากในหมู่หญิงสาวชาวไทย เพราะถึงแม้จะใหญ่กว่าขนาดแรก แต่ภาพโดยรวมของหน้าอกเสริมขนาดนี้ถือว่าไม่ใหญ่จนเกินไป เหมาะกับคนที่ต้องการมีหน้าอกใหญ่กว่าคัพ A แต่ไม่ใหญ่เท่าคัพ B

เสริมหน้าอก 300cc

เสริมหน้าอก 300cc

ถ้าหากต้องการทราบว่าทำนมกี่ cc ไซส์ไหนดี สำหรับผู้หญิงที่มีหน้าอกเดิมขนาดเล็ก แต่ต้องการอัพอก ทำขนาดให้ดูใหญ่และกระชับขึ้น ไซส์ 300 cc นับว่ามีความเหมาะสม เพราะการเสริมหน้าอกไซส์นี้จะทำให้หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้นมากถึง 2 คัพ

เสริมหน้าอก 350cc

เสริมหน้าอก 350cc

เมื่อผู้หญิงที่มีหน้าอกคัพ A แต่ต้องการอัพอกให้ดูใหญ่กว่าเดิม การทำนมขนาด 350 cc จะทำให้ผู้หญิงมีนมขนาดคัพ C ได้ทันที อีกทั้งยังดูเป็นธรรมชาติอีกด้วย

เสริมหน้าอก 400cc

เสริมหน้าอก 400cc

สำหรับการเสริมนม 400 cc สามารถตอบโจทย์ผู้ที่มีขนาดเนื้อหน้าอกเยอะ พร้อมกับต้องการเพิ่มขนาดให้สมดุลมากขึ้น เหมาะกับผู้หญิงที่มีน้ำมีนวล แต่มีขนาดหน้าอกเล็กเกินไป ส่วนผู้หญิงที่ตัวเล็กอาจไม่เหมาะสักเท่าไร เพราะจะทำให้หน้าอกใหม่ดูใหญ่จนเกินไป

เสริมหน้าอก 500cc

เสริมหน้าอก 500cc

หน้าอกขนาดใหญ่ที่สุดคือนม 500cc เป็นการเสริมหน้าอกที่ทำให้ดูอวบอิ่ม เซ็กซี่ และร่องชิด ซึ่งถ้าหากคนที่ต้องการแต่งตัวในสไตล์นี้ก็นับว่าค่อนข้างเหมาะ แต่ก็ต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีและปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเสียก่อน โดยเฉพาะคนตัวเล็กทำนม มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้

วิธีวัดขนาดหน้าอกของตัวเอง

2. รู้ขนาดหน้าอกของตัวเอง

การวัดขนาดหน้าอกของตนเอง นอกจากจะช่วยให้สามารถเลือกซื้อเสื้อในได้อย่างถูกต้องแล้ว สำหรับผู้หญิงที่ต้องการเข้ารับการศัลยกรรมอัพอก ก็ควรรู้ไซส์หน้าอกเดิมของตนเอง เพื่อให้สามารถคำนวณถึงขนาดหน้าอกที่เสริมขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย โดยมีวิธีวัดหน้าอกง่ายๆ ด้วยสายวัดเพียงเส้นเดียว ซึ่งแบ่งเป็นขนาดต่างๆ ได้ทั้งหมด 5 คัพ ตามผลต่างของรอบอกและรอบใต้หน้าอก ได้แก่

  • คัพ A ผลต่างของรอบอกและรอบใต้หน้าอก 9.0 – 11.0 ซม.
  • คัพ B ผลต่างของรอบอกและรอบใต้หน้าอก 11.5 – 13.5 ซม.
  • คัพ C ผลต่างของรอบอกและรอบใต้หน้าอก 14.0 – 16.0 ซม.
  • คัพ D ผลต่างของรอบอกและรอบใต้หน้าอก 16.5 – 18.5 ซม.
  • คัพ E ผลต่างของรอบอกและรอบใต้หน้าอก 19.0 – 21.0 ซม.
เสริมหน้าอกตามโครงสร้างของร่างกาย

3. พิจารณาพื้นฐานโครงสร้างเดิมของร่างกาย

ร่างกายพื้นฐานเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาการศัลยกรรมอัพอก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณเนื้อหน้าอกเดิมที่มีอยู่ รูปร่างของตัว หรือรูปทรงหน้าอก เพราะการศัลยกรรมหน้าอกแบ่งเป็นหลากหลายขนาดและรูปทรง ทำให้การพิจารณารูปแบบหน้าอกที่เหมาะสมกับตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนตัดสินใจ

หากมีการเสริมหน้าอกขนาดใหญ่เกินไปก็อาจส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้ ในขณะที่การทำศัลยกรรมหน้าอกขนาดเล็กเกินไป อาจทำให้ไม่สวยงามมากเพียงพอได้ อีกทั้งการมีหน้าอกขนาดที่ไม่พอดีก็ทำให้ร่างกายดูไม่สมดุลเช่นเดียวกัน

เสริมหน้าอกตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

4. อย่ามองข้ามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

นอกจากร่างกายที่เหมาะสมแล้ว วิถีชีวิตยังเป็นส่วนที่ผู้เข้ารับการศัลยกรรมเสริมหน้าอกต้องคำนึงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบ การแต่งตัว หรือความสบายใจเกี่ยวกับรูปร่างหน้าอกของตนเอง

สำหรับบางกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวเป็นประจำ อาจไม่เหมาะกับการมีหน้าอกขนาดใหญ่สักเท่าไรนัก เพราะจะทำให้ไม่สบายตัวเมื่อมีการขยับและรุ่มร่ามมากยิ่งขึ้น

ส่วนการแต่งกายในสไตล์ต่างๆ ก็เหมาะกับหน้าอกที่แตกต่างกัน เช่น เสื้อผ้ารัดรูป ชุดเดรสเกาะอก ชุดว่ายน้ำ หรือเสื้อสายเดี่ยว อาจเหมาะกับหน้าอกขนาดใหญ่เพราะจะทำให้เห็นรูปร่างชัดเจนขึ้น ส่วนชุด Oversize หรือเสื้อผ้าฟูฟ่อง ก็เหมาะกับหน้าอกขนาดเล็กเพราะเป็นเสื้อผ้าที่บดบังสัดส่วนหน้าอกเป็นอย่างดี

อีกทั้งหากต้องการให้บริเวณหน้าอกไม่เป็นจุดสนใจมากนัก ควรเลือกการศัลยกรรมเสริมหน้าอกที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป มิเช่นนั้นอาจเกิดความไม่สบายใจหลังการเสริมหน้าอกก็เป็นได้

ซิลิโคนเสริมหน้าอก

5. ความพุ่งของซิลิโคนที่ใช้เสริม

การเลือกรูปทรงของหน้าอกเสริมเป็นอีกส่วนที่ผู้เข้ารับการศัลยกรรมจำเป็นต้องคำนึงเสียก่อน เพราะรูปทรงความพุ่งแต่ละแบบเหมาะกับร่างกายของมนุษย์ที่แตกต่างกัน และซิลิโคนที่ใช้มีให้เลือกหลายระดับความพุ่ง แบ่งเป็น 4 แบบ ได้แก่

  • ซิลิโคนความพุ่งต่ำ (Low) จะให้ความเป็นธรรมชาติมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแบบอื่น และทำให้ร่องหน้าอกอยู่ในระดับปานกลาง เหมาะกับคนที่มีโครงสร้างบริเวณหน้าอกกว้าง และมีหน้าอกที่กว้างอยู่แล้ว
  • ซิลิโคนความพุ่งปานกลาง (Medium) เป็นรูปทรงหน้าอกที่เป็นธรรมชาติรองลงมาจากระดับ Low ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เหมาะกับคนที่มีโครงสร้างหน้าอกปานกลางและมีหน้าอกกว้าง
  • ซิลิโคนความพุ่งสูง (High) เหมาะสำหรับคนที่มีโครงสร้างหน้าอกค่อนข้างแคบและต้องการเพิ่มขนาดหน้าอกเยอะ เพราะเป็นทรงที่ทำให้หน้าอกดูกลมแล้วอวบอิ่ม
  • ซิลิโคนความพุ่งสูงพิเศษ (Very High) สำหรับคนที่ต้องการเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่พิเศษ เหมาะกับการเสริมหน้าอกรูปทรงนี้มากที่สุด

สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มขนาดหน้าอกและไม่รู้ว่าจะทำนมไซส์ไหนดี ทำนมกี่ cc การศึกษาเกี่ยวกับขนาดและรูปทรงซิลิโคนเพื่อเตรียมศัลยกรรมอัพอก นับเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก รวมถึงการพิจารณาตนเองในด้านของโครงสร้างร่างกายเดิม

สิ่งแรกเราควรเข้าปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ถูกต้องก่อนตัดสินใจเข้ารับการศัลยกรรม ซึ่งทาง Jarem Clinic ก็มีหมอหลุยส์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการเสริมหน้าอก คอยให้คำแนะนำและทำการผ่าตัดเพื่อเสริมหน้าอกให้สวยงามมากยิ่งขึ้น

พญ.ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล

บทความโดย

พญ. ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล

จักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตา

"การเสริมหน้าอกไม่ใช่ว่าใส่ขนาดเท่าไหร่ก็ได้ เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน อีกทั้งวิธีผ่าตัดก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ สามารถให้คำแนะนำคนไข้ได้ ไม่ใช่ตามใจคนไข้จนเกิดอันตราย"

บทความเกี่ยวข้อง