แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ( Ptosis )

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ( Ptosis ) คือภาวะ กล้ามเนื้อตา ทำงานไม่เต็มที่ สาเหตุเกิดจากการยืดของ กล้ามเนื้อตา ส่งผลให้ดวงตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถ พยุงหนังตา หรือชั้นตาของเราได้ เพราะดวงตาของเราไม่ได้มีเพียงลูกตาและเปลือกตาเท่านั้น การลืมตาหรือกระพริบตาแต่ละครั้ง ต้องมีการประสานงานกัน 3 ส่วน ระหว่าง “เปลือกตา” “เส้นประสาท” “กล้ามเนื้อตา” และอาการ ตาปรือ ที่เกิดขึ้น ก็เกิดจาก กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำงานไม่เต็มที่ ดวงตาไม่สดใส เหมือนเป็นคนที่ไม่กระตือรือร้น ตาขี้เกียจ ตาง่วงนอนตลอดเวลา ส่งผลทำให้เสียบุคลิกภาพ และทำให้ใบหน้าดูแก่กว่าวัย

คลิกเพื่อเลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

อาการของ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

1. มีอาการ ตาปรือ ตาตก

เป็นอาการที่เห็นเด่นชัดที่สุด แม้จะพยายามลืมตาเต็มที่ แต่ดวงตาก็ยังล้า ทำให้เสียบุคลิกภาพ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ อาการจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีผลกับการมองเห็น เช่น ตาเข ตาเหล่ แต่ไม่ถึงกับทำให้สูญเสียการมองเห็น แต่จะมีผลกับความสวยงามของดวงตา เนื่องจากอาการ ตาปรือ ตาตก แบบนี้ พบได้มากในบุคคลทั่วไป ทำให้หลายคนเข้าใจว่าอาการแบบนี้เป็นดวงตาปกติ แต่ความจริงเป็นอาการหนึ่งของ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถรักษาให้หายได้

2. กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ชั้นหนังตา ก็เกิดการหย่อนคล้อยลง จนอาจทำให้แยกยากระหว่างอาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง และ กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง หากแพทย์ที่ไม่เชี่ยวชาญ ก็อาจเข้าใจผิดว่าเป็นอาการ หนังตาหย่อนคล้อย ต้องตัดหนังตาตามปกติ ทำให้ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ชัดขึ้น และหลายครั้ง การผ่าตัดอาจทำให้ กล้ามเนื้อตา บาดเจ็บ และ ตาปรือ ได้มากขึ้นกว่าเดิม

3. เลิกคิ้วสูง

เลิกคิ้วสูง เป็นอาการลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือ เพราะการลืมตา จำเป็นต้องใช้คิ้วช่วยยกเปลือกตาขึ้น เมื่อนานเข้า อาจส่งผลให้การเลิกคิ้วสูงเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ทำให้หน้าผากดูกว้าง และเนื่องจากยกคิ้วเป็นเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณขมับได้

4. ตาขี้เกียจ ( Lazy eye )

ตาขี้เกียจ เป็นอาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็ก มีลักษณะดวงตาข้างนึงมองไม่ชัดเป็นเวลานานๆ อาจส่งผลให้เกิดกลไกทางดวงตา ทำให้ตาข้างนั้นมองไม่เห็น แล้วจะไปใช้งานข้างที่เป็นปกติแทน อาการ ตาขี้เกียจ ควรรีบรักษา เพราะถ้ามีอาการแบบนี้ตั้งแต่เด็กและปล่อยไว้นาน อาจเกิดโอกาสทำให้ไม่สามารถรักษาให้ดวงตากลับมาเป็นปกติได้

5. เบ้าตาลึก

เบ้าตาลึก อีกอาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่เกิดจากไขมันเสื่อมตามอายุ เป็นร่วมกับอาการ ตาปรือ มีลักษณะเบ้าตาดูลึกกว่าปกติ แนวทางรักษา นอกจากการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ต้องมีการย้ายไขมันไปเติมที่เบ้าตาร่วมด้วย

6. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่จำเป็นต้องมีอาการทั้งสองข้าง อาการ ตาปรือ ข้างเดียวก็พบได้บ่อย และสังเกตได้ง่ายกว่าเกิด 2 ข้าง อาจทำให้เสียความมั่นใจ และมักพบได้ในบางคนที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

สาเหตุการเกิด กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด ( Congenital Ptosis )

ลักษณะอาการคือตาจะปรือตั้งแต่เด็ก หากไม่ได้รับการรักษา อาการจะเป็นมากขึ้นตามอายุ และอาจทำให้ดวงตามีปัญหาทางสายตาร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษา การมองเห็นก็จะไม่ชัด จนอาจทำให้เกิดภาวะ ตาขี้เกียจ ( Lazy eye ) ตาเหล่ ตาเข ( Amblyopia ) และการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด สามารถทำได้ แต่จะยากกว่าภาวะอื่นๆ

2. กล้ามเนื้อตา เกิดระคายเคืองเป็นเวลานานๆ

กล้ามเนื้อตาระคายเคือง เกิดจากสาเหตุในการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการขยี้ตาแรงๆ บ่อยๆ , ใช้คอนแท็คเลนส์, เกิดการบาดเจ็บต่อ กล้ามเนื้อตา, ใช้สายตาหน้าจอ TV หรือจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน, นอนดึก และอื่นๆ ที่ทำให้ กล้ามเนื้อตา โดนยืดขยาย

3. กล้ามเนื้อตา บาดเจ็บจากการผ่าตัดตาสองชั้น

เนื่องจากกายวิภาครอบดวงตาเป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อน ชั้นกล้ามเนื้อตาในคนเราก็มีความหนาบาง ไม่เท่ากัน หลังจากผ่าตัดตาสองชั้น ก็อาจบาดเจ็บจากการกรีดตาสองชั้น ซึ่งมีความรุนแรง จนเป็นเหตุให้เกิดอาการ ตาปรือ ท้ายที่สุดก็เป็น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรได้รับการแก้ไขและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

4. โรค Myasthenis gravis หรือโรค MG

เกิดจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ในตำแหน่งที่เรียกว่า nerve-muscular junction ร่างกายจะทำการผลิตภูมิคุ้มกัน ที่จะไปขัดขวางการจับหรือทำลายตัวรับสารที่เรียกว่า acetylcholine ของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อได้รับสัญญาณจากเส้นประสาทลดลงและอ่อนแรง แต่ที่มักเป็นปัญหาคือ กล้ามเนื้อตา จะไม่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด เพราะต้องรักษาโดยการทานยาเท่านั้น

5. ลดน้ำหนักเร็วเกินไป

ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมาก และมีการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป เช่น ออกกำลังกายอย่างหนักหรือใช้วิธีลัด โดยการทานยาลดน้ำหนัก อาจทำให้ผิวหนังรอบดวงตาเกิดการหย่อนคล้อยลงได้ สาเหตุนี้อาจพบได้ไม่บ่อย แต่กรณีนี้ต้องเกิดจากการลดน้ำหนักมากๆ ในระยะเวลาที่รวดเร็วจริงๆ ถึงจะมีการอาการที่ดวงตาได้ เพราะส่วนใหญ่ อาการหย่อนคล้อยจะไปออกที่อวัยวะอื่นมากกว่า เช่น หน้าท้อง หน้าอก ต้นแขน หรือ ต้นขา 

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การรักษาจำเป็นต้องผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยการผ่าตัดจะใช้วิธีเย็บตรึง กล้ามเนื้อตา ด้วยความตึงที่แตกต่างกันในแต่ละข้าง เพราะส่วนใหญ่ กล้ามเนื้อตา จะหย่อนคล้อยไม่เท่ากัน ถ้าแพทย์เย็บด้วยความตึงเท่ากันก็จะทำให้ชั้นตาไม่เท่ากันอยู่ดี วิธีการผ่าตัดมีมากมายหลายวิธี แต่ส่วนสำคัญที่สุดคือการจัดการกับ กล้ามเนื้อ รีเวเตอร์ ( Levator ) ที่อยู่ลึกเข้าไปใน ชั้นหนังตา โดยแพทย์จะไปทำการเลาะชั้นกล้ามเนื้อตานี้ออก เย็บให้แข็งแรง หรือ ผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการที่แตกต่างกันในแต่ละราย เพราะชั้นกล้ามเนื้อตานี้มีความบอบบาง และยิ่งเปราะบางมากในเคส กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่กำเนิด ดังนั้น แพทย์ที่รักษาควรเป็นจักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตาโดยเฉพาะ Occuloplastic 

ข้อควรระวัง การเลือกวิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

วิธีรักษาที่ถูกต้องคือการผ่าตัดรักษา และการผ่าตัดก็มีหลายแบบ ใช่จากการผ่าตัดเย็บชั้นกล้ามเนื้อตาเพียงอย่างเดียว ดังนั้น แพทย์ควรจะมีประสบการณ์การรักษา รอบรู้วิธีรักษา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หลายๆ วิธี เพื่อนำมาใช้กับคนไข้ และชั้นกล้ามเนื้อตาเป็นอวัยวะที่บอบบาง แพทย์ที่รักษาก็ต้องรู้กายวิภาครอบดวงตาเป็นอย่างดี นอกเหนือจากการผ่าตัดแล้ว หากคนไข้เป็นโรค MG ก็สามารถรักษาด้วยยา ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดแต่อย่างใด

สรุปภาวะ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง และการรักษา

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นปัญหาดวงตาอย่างหนึ่งที่สำคัญ ทำให้เสียบุคลิก ตาปรือ ใบหน้าไม่สดใส ดูไม่กระตือรือร้น ในผู้หญิงก็จะไม่สวย แต่ในผู้ชายอาจทำให้เสียโอกาสในหน้าที่การงานได้ และไม่เพียงแต่มีผลต่อความสวยงามเท่านั้น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หากมีอาการมากจนเกิดอาการ ตาตก ก็จะมีผลต่อการมองเห็นในระยะยาว และ ตาขี้เกียจ ( Lazy eye ) ก็เช่นกัน หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็อาจทำให้รักษาได้ยากขึ้นกว่าเดิม

ในกรณี กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นแต่กำเนิด ( Congenital Ptosis ) และกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นข้างเดียว จะสังเกตได้ง่าย ควรเร่งรักษาโดยเร็ว แต่ถ้าอาการเป็นไม่มากในตอนเด็ก แล้วเริ่มมีอาการตอนเป็นผู้ใหญ่ สามารถพบเห็นได้ทั้งจากคนรู้จักหรือเพื่อนๆ ก็อาจทำให้เข้าใจได้ว่าอาการ ตาปรือ เป็นเรื่องปกติ จนท้ายที่สุด อาจทำให้ขาดโอกาสการรักษาที่เหมาะสมอย่างน่าเสียดาย

สิ่งสำคัญอีกประการคือแม้เราจะรู้ตัวแล้วว่ามีภาวะ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่แพทย์ผู้รักษาก็จะต้องมีความเชี่ยวชาญเรื่อง กล้ามเนื้อตา เป็นอย่างดีด้วย เพราะการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงต้องใช้ความละเอียดอ่อน และอาจเกิดการผิดพลาดได้สูง หากแพทย์ไม่มีประสบการณ์ 

รีวิวของเรา

บทความโดย

พญ. ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล

จักษุแพทย์ เฉพาะทางรอบดวงตา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมทำตาสองชั้นมาไม่สวย ไม่เท่ากัน ตาปรือไม่หาย คุณอาจมีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแฝงอยู่ จะดีกว่าไหมถ้าฝากดวงตาไว้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง

จักษุแพทย์เฉพาะทางตกแต่งรอบดวงตา Occuloplastic พญ.ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล (หมอยุ้ย)

ปรึกษาหรือสอบถามได้ที่

บทความเกี่ยวข้อง