อันตราย! เสริมหน้าอกใหญ่เกินตัว เสี่ยงซิลิโคนทะลุ!!

ปกบทความซิลิโคนทะลุ

“การเสริมหน้าอก” นอกจากจะได้หน้าอกที่ใหญ่สวยงามเติมเต็มให้ร่างสมส่วน สวยขึ้น บุคลิกดีขึ้นแล้ว ปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่เจอได้ “ไม่บ่อย” แต่เจอได้เรื่อยๆ คือ “ซิลิโคนทะลุ” (extrusion)

ภาพจริงจากคนไข้ที่มาแก้หน้าอก
**คำเตือนบทความนี้มีรูปภาพที่มีความน่ากลัว**

เริ่มจากแผลปริเป็นรูเล็กๆ เห็นซิลิโคนด้านใน

แผลปริและเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเป็นวงกว้าง

ซิลิโคนทะลุสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ

  1. ทะลุผ่านเนื้อหน้าอก เกิดจากเนื้อนมที่บางเกินไป พบได้ในคนเนื้อนมน้อยและเลือกเสริมหน้าอกแบบ “เหนือกล้ามเนื้อ” หากใส่ซิลิโคนที่ใหญ่จะทำให้เกิดแรงดันต่อเนื้อนมจนเกิดปริหรือทะลุได้ นอกจากนี้ยังพบในเคสที่ผ่าตัดเต้านมออกไปแล้ว (รักษามะเร็งเต้านม) และเสริมสร้างใส่เต้านมเทียม เคสเหล่านี้เนื้อจะบางจากการฉายแสงรังสี ทำให้ทะลุได้ง่าย
  2. ทะลุผ่านแผลผ่าตัด พบมากในเคสที่เลือกเสริมหน้าอกชนิดใต้ราวนม หากใส่ซิลิโคนใหญ่เกินไปและเย็บแผลชั้นเนื้อนมไม่ดี เย็บชั้นเนื้อเยื่อยึดเกาะ เนื้อนม (sheath) ไม่ดี แผลจะไม่สมานกันเกิดจากการติดเชื้อซ้อนทับ หรือมีเลือดคั่งมากทำให้เกิดแรงดันต่อแผลจนแผลปริ

การรักษาแผลปริ อักเสบ ซิลิโคนทะลุ

การป้องกันแต่ต้นดีกว่าการรักษา แต่ถ้าหากเกิดอาการขึ้นมาแล้วควรรักษาตามอาการ แพทย์เป็นผู้พิจารณาดังเช่นเคสนี้ แผลใหญ่มาก หมอหลุยส์แนะนำให้ถอดซิลิโคนพัก ล้างแผล เย็บปิดแผล กินยาฆ่าเชื้อ

ซิลิโคนทะลุกับการรักษา

อาการระยะเริ่มแรกแผลผ่าตัดเริ่มมีอาการบางหรือตึงผิดปกติ โดยประเมินแล้วยังไม่มีการติดเชื้อซ้ำซ้อน หรือเกิดจากการเย็บแผลชั้นเนื้อนมหลุดโดยที่ “ไม่ได้ใส่ซิลิโคนใหญ่เกินตัว” สามารถพิจารณาเย็บแผลซ้ำได้

ถ้าแผลปริมากและมีอาการติดเชื้อซ้ำซ้อนต้องถอดซิลิโคนพัก ล้างแผล ส่งตรวจเชื้อโรค ให้ยาฆ่าเชื้อทางกระแสเลือด จนกว่าแผลจะหายดีจึงจะประเมินอีกครั้ง ระยะเวลาพักหน้าอกแล้วแต่แพทย์นั้นๆพิจารณา โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน

ถ้าแผลที่เกิดบริเวณเนื้อนมเป็นบริเวณกว้างไม่สามารถเย็บปิดได้ต้องพิจารณาใช้วิธี “โยกย้ายเนื้อปิดแผล” (flap reconstruction)

ซิลิโคนเสริมหน้าอก

สรุปการแก้หน้าอกจากซิลิโคนทะลุ

ซิลิโคนทะลุสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการเสริมหน้าอก ถ้าไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งแพทย์และคนไข้ต้องร่วมมือกัน แพทย์ต้องไม่ตามใจคนไข้ ไม่ใส่ซิลิโคนใหญ่เกินตัว ต้องประเมินคนไข้เป็น และหากเกิดอาการขึ้นมาต้องไม่รีรอที่จะถอดซิลิโคนออก เพราะถ้ารักษาได้เร็วหน้าอกคนไข้จะคืนสภาพได้เร็ว เนื้อยังไม่เสียสามารถใส่ได้ใหม่

ส่วนตัวคนไข้เองต้องเข้าใจและเชื่อแพทย์ที่เลือกขนาดซิลิโคนให้ ไม่ดึงดันจะใส่ใหญ่แข่งกับคนอื่นหรือเชื่อคนอื่นแนะนำ เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน การดูแลหลังผ่าตัดก็สำคัญ คนไข้ต้องดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่รีบออกกำลังกายเร็ว หรือทำงานหนักเมื่อหน้าอกยังไม่หายดี

บทความโดย

นพ. พลเดช สุวรรณอาภา

ศัลยแพทย์ เฉพาะทางเสริมหน้าอก

"เสริมหน้าอกใหญ่เกินไป จนปิดแผลไม่ได้หรือปิดแผลได้แต่ตึงมากจนแผลปริในภายหลัง จริงๆแล้วแพทย์ต้องประเมินก่อนผ่าตัดแล้วว่าซิลิโคนขนาดเท่าไหร่ถึงจะเหมาะพอดีกับคนไข้ ถ้าใหญ่เกินไปปิดแผลไม่ได้ก็คือแพทย์คำนวนปริมาณผิด หรือตามใจคนไข้ขอไซส์ใหญ่จนลืมเรื่องความปลอดภัย แบบนี้ไม่ถูกต้อง การเสริมหน้าอกที่ดีต้องตรวจร่างกายเสริมใส่ซิลิโคนขนาดพอเหมาะ ไม่เกินพื้นที่ว่างกล้ามเนื้อหน้าอก ทั้งนี้เทคนิคและประสบการณ์แพทย์ที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น"

บทความเกี่ยวข้อง