กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด คืออะไร? เกิดจากสาเหตุใด?
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด คือโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับดวงตาและติดตัวคนไข้มาตั้งแต่เกิด ซึ่งก่อนที่จะเข้าเรื่อง “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด” ต้องขออธิบายถึงโรค “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” ก่อนนะคะ หลายคนอาจจะเคยทราบมาบ้างแล้วว่าโดยทั่วไปโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันค่ะ คือ
1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดที่เป็นในภายหลัง Acquire Ptosis
“กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” (Acquire Ptosis) สำหรับชนิดที่เป็นในภายหลังนี้ เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะมีอาการหนังตาหย่อนคล้อย มีไขมันสะสมบริเวณเปลือกตา หรือจากพฤติกรรมทำร้ายดวงตา เช่น การใส่คอนแทกเลนส์เป็นเวลานานๆ การขยี้ตาแรงๆ การเช็ดเครื่องสำอางแบบรุนแรง ทำให้เกิดการยืดขยายของกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาได้
2. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด Congenital Ptosis
“กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด” (Congenital Ptosis) คือ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดที่เป็นมาตั้งแต่เกิด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเปิดปิดตา หรือเกิดจากภาวะทางพันธุกรรม หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อตา หรือเกิดจากก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตา
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่อง “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด” กันแบบเจาะลึก รวมถึงการสังเกตอาการของโรคจากตัวเองและคนใกล้ตัว และแนวทางการรักษา
“หมอยุ้ย” พญ.ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล
จักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตา Occuloplastic surgeon จาก จาเรมคลินิก
อาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตกลงมามากตั้งแต่ในวัยเด็ก ทำให้ดูตาปรือเหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา หนังตาตกลงมาปิดตาดำมากกว่าระดับปกติ จนบังการมองเห็นของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีร่องชั้นตา เพราะหนังตาไม่มีความยืดหยุ่น ผู้ป่วยจะลืมตาไม่ขึ้นหรือลืมตาได้ไม่สุด ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่อาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดมักพบว่าเป็นข้างเดียวมากถึง 70% ในรายที่เป็นมากจนหนังตาตกลงมาปิดลูกนัยน์ตาดำ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการมองเห็น ทำให้ผู้ป่วยมองภาพไม่ชัด หากเป็นแต่เด็กจะทำให้เกิดภาวะ “ตาขี้เกียจ” (Lazy Eye) ได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เด็กมองภาพไม่ชัดไปจนโต รวมถึงจะส่งผลให้มองภาพได้ในมุมแคบ หรือมองเห็นภาพไม่ชัดเจน มองภาพลำบาก ทำให้อาการอื่นๆที่ตามมา ได้แก่ เกิดภาวะติดการเลิกคิ้ว การเอียงคอ หรือแหงนหน้าขึ้น เพื่อช่วยในการมองภาพให้ชัดเจนขึ้น จนอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา เกิดภาวะสายตาเอียง ตาเหล่ ตาเข หรือตาขี้เกียจ นอกจากจะส่งผลเสียต่อการมองเห็นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและความสวยงามบนใบหน้าอีกด้วยค่ะ
สังเกตตัวเองจากอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
สังเกตตัวเองหรือคนใกล้ตัวได้ง่ายๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ให้สังเกตระดับของหนังตาบุตรหลานของท่านว่าอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ มีอาการหนังตาตกลงมามากเกินไปหรือเปล่า ปกติหนังตาจะตกลงมาเพียงเล็กน้อย ไม่เกิน 1-2 มม. จากระดับของขอบตาดำด้านบน หากไม่แน่ใจว่าใช่อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือไม่ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
าการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดส่งผลกระทบโดยตรงต่อการมองเห็นและบุคลิกภาพของผู้ป่วย ควรตรวจอย่างละเอียดและทำการรักษากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะในกรณีของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดจะทำการรักษาได้ยากกว่าในกรณีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งจักษุแพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา เย็บซ่อมแซมกล้ามเนื้อตา เพื่อให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรงขึ้นและกลับมาทำงานเป็นปกติ ทั้งนี้การรักษาต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของจักษุแพทย์ โดยจะประเมินอาการและวิธีการรักษาแบบเป็นรายๆไป สามารถทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาไปพร้อมๆกับการทำตาสองชั้น เพื่อกำหนดชั้นตาใหม่ ช่วยให้ชั้นตาทั้งสองข้างกลับมาดูสวยงามและใกล้เคียงกัน
ข้อควรระวังในการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
มีผู้ป่วยหลายรายที่ยังมีความเข้าใจว่าการทำตาสองชั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาหนังตาตกจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดได้ ซึ่งแท้จริงแล้วการทำตาสองชั้นเป็นแค่การกำหนดชั้นตาขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับชั้นกล้ามเนื้อตา จึงไม่สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรงขึ้นได้ สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยไม่แน่ใจว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือไม่ ควรไปเข้ารับการทดสอบกล้ามเนื้อตากับจักษุแพทย์ก่อน เพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้องค่ะ
วิธีการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
คุณหมอยุ้ยจะมีสไตล์การทำตาในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นความเป็นธรรมชาติของชั้นตา ไม่เน้นชั้นตาที่หนาเกินไป ก่อนผ่าผ่าตัดคุณหมอจะตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา และวิเคราะห์รูปตาของคนไข้ก่อน ว่ามีลักษณะอย่างไร รูปทรงตาหลังจากผ่าตัดจะเป็นแบบไหน หมอก็จะพิจารณารูปทรงตาให้เหมาะกับคนไข้มากที่สุด เพราะตาของแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ที่สวยในแบบของตัวเองอยู่แล้ว