ใครกำลังหาข้อมูลทำตา ต้องอ่าน!
วันนี้จะพาทุกท่านมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องการทำศัลยกรรมตากันค่ะ สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเพื่อทำตาสองชั้น ควรทราบถึงปัญหาดวงตาของตนเองและตรวจเช็คปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกันก่อน จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี ซึ่งผู้ที่จะมาให้ความรู้เรื่องการทำตาสองชั้นและการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกับเรามีดีกรีเป็นถึงจักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตา Occuloplastic surgeon นั่นคือ “คุณหมอยุ้ย” พญ.ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล จากจาเรมคลินิกค่ะ คุณหมอจะมาเล่ารายละเอียดให้ฟังกันแบบเจาะลึก ว่าการ “ทำตาสองชั้น” ต่างกับ “แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” อย่างไร? แล้วทำไมเราควรระวังเรื่องของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงก่อนทำตาสองชั้น ไปดูกันเลยค่ะ เริ่มที่การทำตาสองชั้นก่อนนะคะ
“หมอยุ้ย” พญ.ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล
จักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตา Occuloplastic surgeon จาก จาเรมคลินิก
“การทำตาสองชั้น”
คือ การเย็บชั้นตาขึ้นมาใหม่ โดยการตัดหนังตาส่วนเกินออก เพื่อสร้างชั้นตาให้สวยงามและทำให้ดวงตาดูกลมโตมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีตาชั้นเดียว ชั้นตาหลบใน ชั้นตาไม่เท่ากัน หนังตาตก หนังตาหย่อนคล้อย ซึ่งในปัจจุบันการทำตาสองชั้น มี 3 วิธี ได้แก่
- เย็บจุด วิธีนี้แผลจะหายเร็วที่สุด เพราะเป็นการเจาะรูที่ผิวหนังชั้นตาและเย็บไหม ทำให้เกิดชั้นตา แต่ก็มีโอกาสที่ไหมจะหลุดได้ง่าย ทำให้ชั้นตากลับมาเล็กเหมือนเดิม ในปัจจุบันวิธีนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
- กรีดสั้น มีแผลขนาดเล็กประมาณ 0.3 – 1cm และทำการเย็บชั้นตาใหม่ การกรีดแบบนี้จะหายค่อนข้างเร็ว เกิดแผลเป็นน้อย เหมาะกับผู้ที่มีอายุน้อย และไม่มีอาการหนังตาตกหรือหนังตาหย่อน
- กรีดยาว วิธีนี้จะใช้ร่วมกับการตัดหนังตาส่วนเกินออก เหมาะกับผู้ที่มีหนังตาหย่อนมาก โดยเฉพาะส่วนหางตา แต่แผลหายช้ากว่าและมีโอกาสเป็นแผลเป็นได้มากกว่าแบบกรีดสั้น
การทำตาสองชั้นให้ออกมาสวยเป็นธรรมชาติและเข้ากับใบหน้าจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยออกแบบชั้นตาให้เหมาะสมกับใบหน้าของแต่ละบุคคล ส่วนจะทำตาสองชั้นให้มีชั้นใหญ่หรือเล็ก ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งก่อนทำต้องคำนึงถึงโครงสร้างกายวิภาคดวงตาเป็นสำคัญด้วย
ต่อไปมาทำความรู้จักเรื่องกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกันบ้างค่ะ
“กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” คือ ภาวะกล้ามเนื้อตาที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดจากการยืดขยายของกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงหนังตาชั้นตาของเราได้ ลักษณะเหมือนมีอาการตาปรือ ตาง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ โดยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นมาแต่กำเนิด
“กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” คือ ภาวะกล้ามเนื้อตาที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดจากการยืดขยายของกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงหนังตาชั้นตาของเราได้ ลักษณะเหมือนมีอาการตาปรือ ตาง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ โดยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นในภายหลัง
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ปัญหานี้พบมากในคนที่มีอายุมากขึ้น รวมถึงการใช้ชีวิตของเราเอง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาจะยิ่งถูกยืด หรือเกิดจากการเช็ดเครื่องสำอาง การใส่คอนแทคเลนส์ การใส่บิ๊กอาย การขยี้ตาบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้ตาปรือลงได้
“ทำตาสองชั้น” ต่างกับ “แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” อย่างไร?
“การทำตาสองชั้น” กับ “การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” จะต่างกันตรงที่การทำตาสองชั้นเป็นแค่การกำหนดชั้นตาขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ยุ่งกับกล้ามเนื้อตา แต่การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นต้องแก้ไขลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาให้เปิดมากขึ้น การผ่าตัดจึงยุ่งยากและซับซ้อนยิ่งกว่า เพราะต้องทำการยกกล้ามเนื้อตาให้ได้รูป หลังจากนั้นก็กำหนดชั้นตาขึ้นใหม่ ให้ได้ชั้นตาที่สวยงามได้รูป การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจึงสามารถทำไปพร้อมๆกับการทำตาสองชั้นได้
ข้อควรระวังหากคนที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไปทำตาสองชั้น
การทำตาสองชั้นจะไม่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ หลังจากทำตาสองชั้น ตาก็จะยังคงปรือและดูง่วง ดูไม่สดใสอยู่ดี จะได้เพียงแค่ชั้นตาสองชั้นมา และสุดท้ายก็ต้องมาแก้ไขกล้ามเนื้อตากันอีกครั้ง ดังนั้นแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไปเลยดีกว่า เพราะผ่าตัดแค่ครั้งเดียวก็จบเลย คือเป็นการแก้ไขทั้งกล้ามเนื้อตาและได้ชั้นตาที่สวยงามไปพร้อมๆกัน
คุณหมอยุ้ยจะมีสไตล์การทำตาในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ เน้นความเป็นธรรมชาติของชั้นตา ไม่เน้นชั้นตาที่หนาเกินไป ก่อนผ่าตัดคุณหมอจะตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตาและวิเคราะห์รูปตาของคนไข้ก่อน ว่ามีลักษณะอย่างไร หลังจากผ่าตัดแล้วจะเป็นแบบไหน เพื่อให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด
รีวิวการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยหมอยุ้ย Jarem Clinic
สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยไม่แน่ใจว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือไม่ ควรไปเข้ารับการทดสอบกล้ามเนื้อตากับจักษุแพทย์ก่อน เพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้องค่ะ หากสนใจปรึกษาปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถนัดปรึกษาโดยตรงกับคุณหมอยุ้ยได้เลย หรือจะ Inbox เข้ามาสอบถามข้อมูลกันก่อนได้ค่ะ