กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร แก้ไขได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ปกบทความกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อตาผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกช่วงวัย โดยผู้ที่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีอาการหนังตาหย่อน ตาปรือ ตาไม่เท่ากัน เวลาลืมตาหนังตาขยับขึ้นได้น้อย จนสังเกตเห็นได้ชัดว่าหนังตาหย่อนลงมาปิดตาดำ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการมองเห็น การเคลื่อนไหวใบหน้า จนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน

ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันว่ากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร สามารถแก้ไขได้หรือไม่ อาการเป็นอย่างไร และจะอันตรายไหม หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดอะไรขึ้น มาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้กันเลย

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก

เปิดสาเหตุ! กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไรบ้าง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้เวลา และใช้สายตาไปกับหน้าจอในการเล่นโซเชียลมีเดีย หรือทำงานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยแต่ละสาเหตุมีความร้ายแรงที่ต่างกัน และบางสาเหตุสามารถกระทบการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น จึงต้องรีบหาวิธีแก้ไขเร่งด่วน ซึ่งกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

พันธุกรรม

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพันธุกรรม หรือกล้ามเนื้อตามีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โดยมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมาก่อน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น คือ เปลือกตาลืมตาได้น้อยกว่าปกติ เปลือกตาไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ หนังตาปิดตาดำ ตาไม่เท่ากัน หรือตาตกข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง หากปล่อยทิ้งไว้อาจกระทบการมองเห็นเกิดอาการตาขี้เกียจ หรือสายตาเอียงได้

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำของแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ติดซีรีส์ ผู้ที่ติดโซเชียลมีเดีย มีพฤติกรรมใช้สายตาอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานานๆ หรือผู้ที่ชอบขยี้ตาบ่อยๆ รวมถึงผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำจนนำไปสู่โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

อายุที่มากขึ้น

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังเปลือกตาเกิดการเสื่อมสภาพ เกิดความหย่อนคล้อย ทำให้กล้ามเนื้อเปลือกตาห้อยลงมามากกว่าปกติ หนังตาจึงตกลงมาปิดตาดำมากขึ้น แรงยกตอนลืมตาลดลง ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวันได้

เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อผิดปกติ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากร่างกายมีภูมิต้านทานออกมาขัดขวางการทำงานของเส้นประสาท ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อตาผิดปกติ แต่ว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว อาจจะมีอาการตาปรือ หนังตาตก ลืมตาลำบาก หรือตาไม่เท่ากันในบางเวลา เมื่อได้รับการพักผ่อนหลับตาสักพัก กล้ามเนื้อตาก็จะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยวิธีการผ่าตัด แต่ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อุบัติเหตุ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอุบัติเหตุที่มีการกระแทกเข้ามาที่เปลือกตา ทำให้เส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อตาผิดปกติ เกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง นอกจากนี้ยังรวมถึงอุบัติเหตุจากการผ่าตัดตาสองชั้น ที่ทำโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญมากพอ ส่งผลให้การผ่าตัดส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อตาเสียหาย เส้นประสาทควบคุมเปลือกตาทำงานผิดปกติ จนเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis)

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรค MG (Myasthenia gravis) เกิดจากสารสื่อประสาทระหว่างเส้นประสาท และกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ โดยจะเกิดขึ้นได้ที่กล้ามเนื้อบริเวณปาก คอ แขน ขา และตา เมื่อเกิดที่กล้ามเนื้อตาจะทำให้เปลือกตา และกล้ามเนื้อยึดลูกตาทำงานผิดปกติ เกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) ซึ่งจะมีอาการมองเห็นภาพซ้อน หนังตาตก ตาปรือ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ คือ ผู้หญิงอายุ 20-30 ปี และผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่พบได้บ่อย

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน หลายคนอาจจะกังวล และสงสัยว่าตัวเองเสี่ยงที่จะเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือไม่ และกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาการเป็นอย่างไร ดังนั้น เราจะไปดูอาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่พบได้บ่อย เพื่อที่จะได้สังเกตได้ว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้หรือไม่

หนังตาตก

หนังตาตก คือ อาการของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจากทั้งพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด หรืออาจจะเกิดในภายหลังก็ได้ โดยแต่ละอาการนั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด เกิดจากพันธุกรรม จะสังเกตอาการหนังตาตกของเด็กได้ชัด คือเปลือกตาบนจะลงมาคลุมที่ตาดำมากกว่าปกติ ทำให้เด็กตาปรือ ตาง่วงนอน ตาไม่เท่ากัน ซึ่งบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นต้องมองเอียงคอ เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจน
  • โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดจากกล้ามเนื้อตาถูกยืดออก เพราะใช้งานติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนกล้ามเนื้อตาไม่มีแรงที่จะลืมตาให้สุด และหลับตาให้สุด ทำให้หนังตาตก ตาปรือ ดูง่วงนอนตลอดเวลา และดวงตาไม่สดใส

ลืมตาได้ไม่เต็มที่

กล้ามเนื้อหาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อเปลือกตาไม่แข็งแรง ส่งผลให้ชั้นตาข้างที่อ่อนแรงนั้นออกแรงลืมตาขึ้นได้น้อยกว่าตาข้างปกติ ทำให้เกิดอาการลืมตาไม่ค่อยขึ้น ตาดูง่วงนอนตลอดเวลา ต้องเพ่งเวลาจ้องมอง ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะสังเกตได้ชัดว่าชั้นตาที่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติจนทำให้ตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

เลิกคิ้วบ่อยๆ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อเปลือกตาออกแรงลืมตาได้น้อยกว่าปกติ สาเหตุนี้เองทำให้ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมักใช้กล้ามเนื้อบริเวณคิ้ว และหน้าผากช่วยออกแรงยกหนังตาขึ้นเวลาลืมตา ขณะที่จ้องมองวัตถุใดๆ นอกจากจะทำให้เสียบุคลิกแล้ว ยังส่งผลให้เกิดริ้วรอยระหว่างคิ้ว และริ้วรอยหน้าผากได้ง่ายขึ้น

เบ้าตาลึกกว่าปกติ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากไขมันที่ชั้นเปลือกตาหายไป ทำให้เห็นว่าเบ้าตามีความลึกมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นอาการของผู้ที่มีอายุมาก และผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งอาการนี้ส่งผลให้ดวงตาดูไม่สดใส ดูโหล ดูโทรม และดูแก่กว่าวัย

ขยี้ตาบ่อย

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากความหย่อนคล้อยของเปลือกตา ที่มาจากการขยี้ตา หรือการเสียดสีรอบบริเวณดวงตา ไม่ว่าจะเป็นการเช็ดเมคอัพรอบดวงตาที่แรงเกินไป การขยี้ตาจากอาการคัน ระคายเคือง หรืออาการคันรอบดวงตาที่มีจากโรคภูมิแพ้ จะสังเกตเห็นว่าผู้ที่ขยี้ตาบ่อย ชั้นตาจะมีริ้วรอยหลายเส้น เป็นลักษณะริ้วๆ ทำให้ตาปรือ หรือตาดูง่วงนอนกว่าปกติ

ระดับความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ระดับความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละสาเหตุส่งผลต่อระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป ส่วนนี้จะอธิบายให้ทราบกันว่า โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้ 4 ระดับ ดังนี้

  • ระดับเริ่มต้น เป็นระดับที่เปลือกตาบนอ่อนแรง และตกลงมาคลุมตาดำไม่เกิน 1 มิลลิเมตร ระยะนี้อาจสังเกตได้ไม่ชัดเจนมาก
  • ระดับปานกลาง เป็นระดับที่เปลือกตาบนอ่อนแรง หย่อนคล้อยลงมาคลุมตาดำ ขนาดระหว่าง 2-3 มิลลิเมตร เริ่มสังเกตุได้ชัดเจนว่าตาดูง่วงนอน ตาปรือ ไม่สดใส และเริ่มเห็นได้ชัดเจนว่าตาไม่เท่ากัน
  • ระดับค่อนข้างรุนแรง เป็นระดับที่เปลือกตาบนอ่อนแรง ลงมาคลุมตาดำเยอะมากขึ้น ประมาณ 3-4 มิลลิเมตร เห็นได้ชัดเจนว่าตาดูปรือ หน้าดูง่วงนอนตลอดเวลา รู้สึกเสียความมั่นใจ เสียบุคลิก และไม่มั่นใจในการใช้ชีวิต
  • ระดับรุนแรง เป็นระดับที่เปลือกตาบนอ่อนแรง ลงมาคลุมตาดำเยอะมาก เกือบคลุมทั้งหมดของตาดำ ที่ขนาดมากกว่า 4 มิลลิเมตรขึ้นไป ส่งผลให้เกิดปัญหาการมองเห็นขั้นรุนแรง เช่น เห็นภาพซ้อน มองภาพไม่ชัด หรือต้องเพ่งมองด้วยวิธีการเลิกคิ้ว
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

แนวทางการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแก้ไขได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละคน โดยแนวทางการรักษาเริ่มต้นตั้งแต่การปรับพฤติกรรมหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการกำเริบ การรักด้วยยา และการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีรักษานั้นมีรายละเอียดมีรายละเอียด ดังนี้

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้อาการกำเริบ

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในบางกรณีสามารถเป็นแล้วหายได้เอง เพราะภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างที่เข้าไปกระตุ้นให้อาการของโรคนี้กำเริบขึ้นมา หากต้องการรักษาให้อาการดีขึ้น สามารถเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนักเกินไป พักผ่อนน้อย
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ที่ร้อนจัด กลางแดด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาโรคหัวใจ ยาโรคจิตเวช
  • หลีกเลี่ยงการผ่าตัดตาสองชั้นกับแพทย์ที่ไม่ชำนาญ
  • หลีกเลี่ยงพาหะที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เพราะจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

สิ่งที่ควรทำเมื่อมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ปล่อยให้สมองได้ผ่อนคลาย
  • อยู่ในพื้นที่ ที่อากาศเย็นสบาย
  • แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อนรับยาทุกครั้ง ว่ามีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  • ศึกษาอย่างละเอียดก่อนทำตาสองชั้น ควรเลือกทำกับแพทย์ที่ชำนาญการ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลโรค ไม่ให้ร่างกายป่วย

การใช้ยา

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อต้านกระแสประสาทกับกล้ามเนื้อตาทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อตาผิดปกติ สามารถรักษาด้วยการใช้ยาได้ โดยแพทย์จะเลือกใช้ตัวยา 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มยากระตุ้นการทำงานของสื่อประสาท เป็นยาที่นิยมใช้รักษากล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะมีความปลอดภัยสูง ยาตัวนี้จะเข้าไปช่วยให้กระแสประสาทกับกล้ามเนื้อตาทำงานเป็นปกติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ได้ในระยะสั้น จึงต้องทานต่อเนื่องหลายครั้งต่อวัน ซึ่งยาตัวนี้มีผลข้างเคียงหากทานในปริมาณมาก อาจทำให้เกิด อาการปวดท้อง ท้องเสีย และกล้ามเนื้อกระตุกได้ ดังนั้น ผู้ที่ทานยาตัวนี้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และหากมีอาการผิดปกติควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบเร็วที่สุด
  • กลุ่มยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ช่วยแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ในระยะสั้น และจะใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ ออกมาต่อต้านการทำงานของกระแสประสาท และกล้ามเนื้อตา จึงทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยยาสเตียรอยด์จะเข้าไปช่วยกดการทำงานของภูมิคุ้มกันลง ให้กระแสประสาทกับกล้ามเนื้อตาทำงานได้ปกติ แต่ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเพิ่มขึ้น สิวเห่อ อารมณ์แปรปรวน ปวดกล้ามเนื้อ รวมถึงเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • กลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน เป็นกลุ่มยาที่จะใช้กับเคสกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงขั้นรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองต่อกลุ่มยากระตุ้นสื่อประสาท และกลุ่มยาสเตียรอยด์ หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรงเมื่อใช้ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกันทำงานคล้ายกับกลุ่มยาสเตียรอยด์ คือ จะเข้าไปกดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้กระแสประสาทกับกล้ามเนื้อตาทำงานได้ปกติ แต่ผลข้างเคียงของยาตัวนี้รุนแรงกว่า คือ รู้สึกเหนื่อยล้า เบื่ออาหาร มีฤทธิ์ทำลายตับ และไขกระดูก ดังนั้น ผู้ที่ทานยานี้จะต้องได้รับการตรวจเลือดต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่รุนแรง

การผ่าตัด

การแก้ไขกล้ามเนื้ออ่อนแรงด้วยการผ่าตัด จะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้มากประสบการณ์เท่านั้น โดยการผ่าตัดแพทย์จะเย็บตรึงชั้นตาที่อ่อนแรง โดยแพทย์จะเลาะกล้ามเนื้อตาส่วนที่เรียกว่า รีเวเตอร์ (Levator) เป็นส่วนที่ลึกเข้าไปในชั้นตาออกมา และเย็บให้ชั้นตาแข็งแรง ซึ่งจะมีเทคนิคการตกแต่ง และรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้แต่ละรายว่ามีปัญหามากน้อยแค่ไหน

การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ทำตาสองชั้น อีกหนึ่งหนทาง ที่ช่วยให้การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ผลมากขึ้น

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากภายในอย่างระบบภูมิคุ้มกัน กรรมพันธุ์ หรือปัจจัยจากภายนอกที่มาจากพฤติกรรม ดังนั้น การแก้ไขด้วยการทำตาสองชั้น เป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตาปรือ ตาตก หรือตาง่วงนอนได้ โดยการทำตาสองชั้นจะช่วยแก้ปัญหาตาตก ด้วยการเข้าไปยกเปลือกตาที่ตกขึ้นมา ทำให้กล้ามเนื้อตากลับมาปกติ ซึ่งขั้นตอนการรักษานี้จะต้องทำกับแพทย์ชำนาญการ มีประสบการณ์ รู้และเข้าใจกายวิภาคของดวงตาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะวางแผนการรักษา ด้วยการทำตาสองชั้นร่วมกับการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและใช้เทคนิคพิเศษอื่นๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้สามารถแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ตรงจุด พร้อมกับช่วยให้ได้ดวงตาสดใส และเส้นตาสวยชัดมากขึ้น ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าห้องผ่าตัดไปแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นการผ่าตัดเล็ก ดังนั้น ก่อนผ่าตัดจะมีการเตรียมตัวคล้ายกับการผ่าตัดอื่นๆ แต่จะมีข้อที่ควรเตรียมตัวเป็นพิเศษอยู่ด้วย ได้แก่

  • งดทานอาหารเสริมทุกชนิดก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ควรสระผมก่อนผ่าตัด เพราะหลังผ่าตัดห้ามให้แผลโดนน้ำเด็ดขาด อาจทำให้สระผมลำบาก
  • งดการทำศัลยกรรมอื่นๆ เด็ดขาด
  • งดติดสติ๊กเกอร์ตาสองชั้นอย่างน้อย 7 วัน
  • งดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • งดต่อขนตาก่อนผ่าตัด
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง อย่าให้ป่วยเด็ดขาด หากมีอาการปวด ไอ คัดจมูก ควรรีบแจ้งคลินิกทันทีก่อนวันผ่าตัด
  • งดแต่งหน้าก่อนมาผ่าตัด

การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด

หลังผ่าตัดตาสองชั้น ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง วิธีการดูแลก็เหมือนกับการดูแลตัวเองหลังทำศัลยกรรมประเภทอื่นๆ หากอยากให้แผลเข้าที่ไว ไม่เกิดอันตรายแทรกซ้อน ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • ห้ามให้แผลโดนน้ำ และเหงื่ออย่างเด็ดขาด
  • ประคบเย็นหลังทำ 5 วันแรก และตามด้วยประคบอุ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอาการบวม
  • นอนหมอนหัวสูง งดการก้มต่ำ เพื่อป้องกันการห้อเลือด
  • ห้ามเกา ขยี้ แกะ แคะ แผลผ่าตัดเด็ดขาด
  • นอนหงาย ใช้หมอนรองคอช่วย ป้องกันนอนตะแคงโดยไม่รู้ตัว
  • งดใส่คอนแทคเลนส์หลังจากผ่าตัด อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • งดอาหารสแลง อาหารหมักดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อย่างน้อย 3 สัปดาห์
  • ใช้สายตาน้อยลง ลดการใช้หน้าจอเป็นเวลานานๆ
หลังการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ผลลัพธ์หลังผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ช่วยให้ดีขึ้นยังไงได้บ้าง?

ผลลัพธ์ที่ได้เมื่อผ่าตัดทำตาสองชั้น เพื่อรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง นอกจากจะสามารถแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตาไม่เท่ากัน ตาปรือ และตาง่วงนอนได้แล้ว ยังช่วยให้ชั้นตาเป็นเส้นคมชัด ขนาดพอดี ใบหน้าดูสดใสมากขึ้น และยังได้ผลลัพธ์ต่อไปนี้

  • ดวงตาสดใส เสริมบุคลิกให้ดูดี
  • ชั้นตาคมสวย พอดีกับใบหน้า
  • ตาทั้ง 2 ข้างดูเท่ากัน
  • ดวงตาหวานละมุนขึ้น ไม่ดุ
  • แก้ปัญหาชั้นตา 3 ชั้นให้หายไป
  • แต่งหน้าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ต้องใช้สติ๊กเกอร์ตาสองชั้น
  • ช่วยลดการเกิดริ้วรอยหน้าผาก และระหว่างคิ้วได้ เพราะไม่ต้องเลิกคิ้วเวลาเพ่งมอง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะกรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย พฤติกรรมภายนอก หรืออุบัติเหตุ ส่งผลให้ดวงตาไม่สดใส ตาปรือ และตาดูง่วงนอนตลอดเวลา นอกจากจะทำให้ไม่มั่นใจ เสียบุคลิกในการทำงานแล้ว ยังอาจรุนแรงถึงขั้นกระทบการมองเห็น การใช้ชีวิตระยะยาว ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ 3 วิธี คือ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ทานยา และการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมกับการทำตาสองชั้น ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดีแก้ปัญหาได้ตรงจุดแล้วยังได้ชั้นตาที่คมสวย ช่วยให้มั่นใจในการใช้ชีวิตได้ในระยะยาว

พญ.ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล

บทความโดย

พญ. ณัฏฐ์ธยาน์ สินประเสริฐกูล

จักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตา

"กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง Ptosis มีหลายสาเหตุ แต่ละสาเหตุก็รักษาต่างกันไป การรักษายากตั้งแต่วินิจฉัยเพราะอาการไม่ต่างกันมาก การตรวจรักษาเลือกวิธีผ่าตัด แพทย์ต้องมีประสบการณ์และความชำนาญสูง เพื่อผ่าตัดให้ดวงตากลับมาเป็นปกติ"

บทความเกี่ยวข้อง