รวมข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกที่ควรรู้! เสริมหน้าอกสวย เลี่ยงหน้าอกพัง

รวมข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกที่ควรรู้

การเสริมหน้าอกเป็นวิธีการแก้ปัญหาหน้าอกที่ตรงจุดมากที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สาวๆ หลายคนที่มีปัญหาอกเล็ก หรืออกไม่สวยมีความคิดอยากเสริมหน้าอกเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะอยากทำหน้าอกมากขนาดไหน หลายคนก็ยังคงลังเลไม่กล้าทำเพราะกลัวอาการเจ็บ และอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด เช่น อาการปวดหลังหลังทำนม อาการเจ็บแผลผ่าตัด

ในความเป็นจริงแล้ว อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่พบได้หลังผ่าตัดเสริมหน้าอก ซึ่งหากดูแลร่างกายและปฏิบัติตามข้อห้ามหลังเสริมอกที่ศัลยแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด อาการหลังเสริมอกก็จะหายเร็วขึ้น และไม่มีภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนั้น เพื่อช่วยให้คนอยากทำหน้าอกสบายใจขึ้น มาดูข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกที่ควรรู้ และการดูแลตัวเองหลังเสริมหน้าอกอย่างถูกวิธี รับรองว่าได้หน้าอกสวยแน่นอน

เนื้อหาที่น่าสนใจ

อาการหลังทำหน้าอก เป็นอย่างไร

อาการหลังทำหน้าอก เป็นอย่างไร

สำหรับอาการหลังเสริมอกสามารถพบได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดไปจนถึง 1 ปี โดยแบ่งเป็นระยะต่างๆ และมีข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกที่ควรปฏิบัติในแต่ละระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 — อาการหลังเสริมหน้าอกทันที

หลังออกจากห้องผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะถูกย้ายมาห้องพักฟื้นเพื่อรอดูอาการ ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมีอาการปวดที่หน้าอกเล็กน้อย แต่เนื่องจากยาสลบ และยาชายังไม่หมดฤทธิ์จึงทำให้อาจไม่ได้สติเต็มที่ แต่หากมีอาการเจ็บปวดแผลผ่าตัดอย่างรุนแรง หรือรู้สึกว่าร่างกายมีอาการผิดปกติ ควรรีบแจ้งกับศัลยแพทย์เพื่อประเมินอาการหลังเสริมอกทันที

ระยะที่ 2 — อาการหลังเสริมหน้าอก 1-3 ชั่วโมง

หลังจากเสริมหน้าอก 1-3 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมีอาการเจ็บเล็กน้อย เพราะยังคงมีฤทธิ์ของยาชาอยู่ ซึ่งหากไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ปกติแล้วศัลยแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องใส่ชั้นใน หรือพันผ้าก๊อซรอบเต้านม เพื่อประคองทรงของเต้านม และลดโอกาสของการกระทบกระเทือน

ระยะที่ 3 — อาการหลังเสริมหน้าอก 3-5 วัน

ในช่วง 3-5 วันแรกหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก เป็นช่วงที่ร่างกายของผู้รับการผ่าตัดปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของหน้าอก จึงอาจมีอาการระคายเคือง ปวด หรือมีเลือดซึมบริเวณแผลผ่าตัด จึงต้องรับประทานยาที่ศัลยแพทย์จ่ายให้ และต้องปฎิบัติตามข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันแผลผ่าตัดฉีกขาด หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ แต่หากมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือมีเลือดออกมากผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์

ระยะที่ 4 — อาการหลังเสริมหน้าอก 7-14 วัน

อาการหลังเสริมอก 14 วัน อาจไม่มีอาการที่น่าเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากแผลผ่าตัดเริ่มสมานกันดีแล้ว แต่ยังคงต้องระมัดระวัง และปฎิบัติตามข้อห้ามหลังเสริมหน้าอก โดยเฉพาะการทำกิจกรรมที่ออกแรง หรือมีการเคลื่อนไหวมากๆ ทำให้ระยะนี้จึงยังต้องหยุดพักจากการทำงานเพื่อดูแลตัวเองก่อน

ระยะที่ 5 — อาการหลังเสริมหน้าอก 1-2 เดือน

ระหว่างช่วง 1-2 เดือนหลังการผ่าตัด อาการหลังทำนมจะลดลงจนเกือบเป็นปกติ แต่ผู้เสริมหน้าอกยังคงต้องดูแลตัวเอง และปฎิบัติตามข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกตามคำแนะนำของศัลยแพทย์ นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตรูปทรงของหน้าอก หากเห็นว่าเบี้ยวหรือไม่เป็นทรงตามที่ต้องการ ควรรีบปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อทำการแก้ไข

ระยะที่ 6 — อาการหลังเสริมหน้าอก 1 ปี

หลังจากเสริมหน้าอก 1 ปี ผู้เสริมหน้าอกจะไม่รู้สึกเจ็บ หรือระคายเคือง แต่ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของรูปทรงอยู่เสมอ สำหรับการสังเกตอาการหลังเสริมอก 1 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในเสริมหน้าอก กรณีที่ใช้ซิลิโคนน้ำเกลือจะสังเกตความผิดปกติของรูปทรงได้ง่ายกว่าการใช้ซิลิโคนเจลที่มีความหนาแน่นมากกว่า ซึ่งต้องมีการทำ Magnetic Resonance Imaging (MRI) เพื่อตรวจสอบ หากตรวจพบความผิดปกติ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทำการแก้ไขทันที
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเสริมหน้าอก

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเสริมหน้าอก

เนื่องจากการเสริมหน้าอกเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีการวางยาสลบ หลังจากการผ่าตัด นอกจากอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัดแล้ว ยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง และอาการหลังเสริมอกอื่นๆ ได้ ดังนี้

  • รู้สึกแสบร้อน เกิดรอยแดง หรือรอยบวมบริเวณแผลผ่าตัด
  • มีไข้จากแผลเกิดการติดเชื้อ
  • รู้สึกแน่นหน้าอก ทำให้หายใจลำบากกว่าปกติ
  • รู้สึกว่าบริเวณเต้านมแข็งผิดปกติ
  • มีตุ่มหรือก้อนบริเวณเต้านม แต่หากมีบริเวณใต้รักแร้ อาจเป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองได้
  • มีความรู้สึกว่าซิลิโคนเคลื่อนที่ หรือหมุนได้
การดูแลตัวเองหลังทำหน้าอก ทำได้อย่างไร

การดูแลตัวเองหลังทำหน้าอก ทำได้อย่างไร

แม้หลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอก ศัลยแพทย์จะอนุญาตให้ผู้ผ่าตัดกลับบ้านได้ใน 3 ชั่วโมง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่เพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อน ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรดูแลแผลผ่าตัด และปฏิบัติตามข้อห้ามหลังเสริมหน้าอกที่ศัลยแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด โดยวิธีดูแลหลังเสริมอก มีดังนี้

  1. ควรรับประทานยาที่ศัลยแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาพบศัลยแพทย์ตามนัดทุกครั้ง โดยการผ่าตัดเสริมหน้าอกศัลยแพทย์จะติดตามอาการหลังทำนมประมาณ 1 ปี
  2. ท่านอนหลังทำหน้าอกที่ถูกต้อง คือ การนอนบนหมอนสูง 45 องศา เป็นเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ 
  3. ในช่วง 2-3 วันแรกหลังผ่าตัดให้อาบน้ำทำความสะอาดเฉพาะช่วงล่างของร่างกายเท่านั้น ส่วนช่วงบนให้ใช้การเช็ดตัวแทน สำหรับการการอาบน้ำสามารถทำได้ในวันที่ 4 หลังการผ่าตัด แต่ต้องติดพลาสเตอร์กันน้ำไว้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ
  4. การแกะพลาสเตอร์ปิดแผล สามารถทำได้ในวันที่ 4 หรือรอจนกว่าแผลแห้ง ซึ่งหลังจากแกะแล้วให้ทำความสะอาดแผลทุกวัน จนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ
  5. ในช่วง 2 สัปดาห์แรก ควรพันผ้าประคองเต้านมอย่างต่อเนื่อง ส่วนซัพพอร์ตบราให้ใส่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ตอนนอนเป็นระยะเวลาประมาณ 3–6 เดือน หรือจนกว่าหน้าอกที่เสริมมาจะเข้ารูป
  6. ให้เริ่มนวดหน้าอกหลังจากตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ โดยให้นวดครั้งละ 5–10 นาที วันละ 2 ครั้ง
  7. ควรทายารักษารอยแผลเป็นตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รอยแผลเป็นจางลง
อาหารแนะนำ หลังทำหน้าอกควรกิน

อาหารแนะนำ หลังทำหน้าอกควรกิน

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลังการผ่าตัด ถือเป็นหนึ่งในข้อปฎิบัติที่ผู้เสริมหน้าอกต้องให้ความสำคัญ เพราะนอกจากช่วยป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการหลังเสริมอกแล้ว ยังช่วยให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้นอีกด้วย สำหรับอาหารที่ควรรับประทาน มีดังนี้

  1. อาหารประเภทโปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นมากหลังการผ่าตัดทุกรูปแบบ เพราะช่วยฟื้นฟูร่างกาย และสมานแผลให้ติดเร็วขึ้น สำหรับอาหารประเภทโปรตีนที่คนเสริมหน้าอกควรรับประทานหลังผ่าตัด ได้แก่ นม ไข่ ถั่วทุกชนิด และอาหารทะแลที่ผ่านการปรุงสุก เป็นต้น
  2. อาหารประเภทไขมัน เพราะไขมันทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนดูดซึมแร่ธาตุ และวิตามินเข้าสู่ร่างกาย ในกรณีที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดี เช่น น้ำมันรำขาว ถั่วอัลมอลด์ ถั่วพิสตาชิโอ เป็นต้น
  3. วิตามินซี (Vitamin C) การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม มะเขือเทศ ผลไม้ตระกลูเบอร์รี่ หรือผักใบเขียว ช่วยกระตุ้นให้แผลผ่าตัดสมานง่าย และหายได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้เป็นอย่างดี
  4. วิตามินอี (Vitamin E) เช่นเดียวกับวิตามินซี การรับประทานอาหารที่มีวิตามินอีสูงจะช่วยให้แผลสมานได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ ข้าวสาลี ไข่ไก่ และผักประเภทกระหล่ำ
  5. แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) หากต้องการให้แผลผ่าตัดหายเร็ว และลดความเสี่ยงเรืองภาวะแทรกซ้อน แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี เพราะนอกจากแร่ธาตุสังกะสีจะช่วยสมานแผลแล้ว ยังช่วยลดการอักเสบของแผลได้อีกด้วย สำหรับอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ แอปเปิ้ล ถั่ว สัปปะรด ผักโขม และธัญพืช เป็นต้น
ข้อห้ามหลังเสริมหน้าอก ที่ควรหลีกเลี่ยง

ข้อห้ามหลังเสริมหน้าอก ที่ควรหลีกเลี่ยง

ก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก นอกจากการศึกษาวิธีดูแลหลังเสริมอกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ข้อห้ามหลังเสริมอก โดยข้อห้ามสำคัญที่คนเสริมหน้าอกควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

1. ระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ

หลังการผ่าตัดศัลยแพทย์จะติดพลาสเตอร์กันน้ำไว้ที่แผลผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ และทำให้เกิดอาการหลังเสริมอกอื่นๆ ตามมาได้ ผู้เสริมหน้าอกจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือในกรณีที่อยู่ระหว่างการใส่สายระบายเลือด ห้ามถอดออก หรือเทเลือดออกจากกระปุกด้วยตนเอง แต่ให้ถอดที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหลังจากวันผ่าตัด 3-5 วัน

2. ห้ามนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง

ปกติแล้วศัลยแพทย์จะห้ามไม่ให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดนอนคว่ำ หรือนอนตะแคงประมาณ 1 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้ซิลิโคนเคลื่อนที่ ดังนั้น หลังการผ่าตัดจึงต้องระมัดระวังการนอนอยู่เสมอ โดยให้นอนในท่านอนหงาย หนุนหมอนสูง 45 องศา ซึ่งเป็นท่านอนหลังทำนมที่ถูกต้อง

3. ห้ามออกแรงมากเกินความจำเป็น

การออกแรงหนักๆ อย่างการออกกำลังกาย หรือยกของหนัก จะทำให้เกิดใช้กล้ามเนื้อแขน ซึ่งอาจทำให้แผลผ่าตัดเกิดการอักเสบ และฉีกขาดได้ ดังนั้น ในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด จึงไม่ควรขยับตัวมากเกินความจำเป็น ควบคู่ไปกับการล้างแผลอย่างเป็นประจำเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ ซึ่งการล้างแผลทำได้ด้วยการแกะพลาสเตอร์ออก และล้างแผลด้วยน้ำเกลือ ทาเบตาดีน หรือทายาตามที่ศัลยแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง จากนั้นให้พันผ้ารัดหน้าอกตามเดิม ส่วนกรณีเสริมหน้าอกแบบใต้กล้ามเนื้อให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการใช้กล้ามเนื้อหน้าอก เช่น การวิดพื้น หรือโยคะเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

4. งดทำกิจกรรมบางประเภท

เหตุผลที่ศัลยแพทย์แนะนำผู้เข้ารับการเสริมหน้าอกให้หยุดพักการทำงาน และงดกิจกรรมบางอย่างนั้น นอกจากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดแล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลให้แผลฉีกขาด โดยกิจกรรมที่ไม่ควรทำหลังการผ่าตัด มีดังนี้

  1. ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังการผ่าตัด ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากอาจทำให้แผลผ่าตัดปริ หรือฉีกขาดได้
  2. ห้ามว่ายน้ำ หรือแช่น้ำในอ่างอาบน้ำอย่างน้อย 8-12 สัปดาห์ หลังจากการผ่าตัด
  3. ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การขับรถ การวิ่ง หรือกระโดด อย่างน้อย 8-12 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด เพราะอาจส่งผลให้ซิลิโคนเคลื่อนที่จากตำแหน่ง

5. หลีกเลี่ยงการกินอาหารบางประเภท

แน่นอนว่าเมื่อมีอาหารที่ควรรับประทานหลังการเสริมหน้าอกแล้ว ย่อมมีอาหารที่เป็นข้อห้ามหลังเสริมอก ซึ่งอาหารที่ห้ามรับประทาน มีดังนี้

  1. อาหารหมักดอง เนื่องจากอาหารประเภทนี้ อาจกรรมวิธีการผลิตที่ไม่สะอาด ทำให้เสี่ยงต่อปัญหาแผลติดเชื้อได้หากรับประทาน
  2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้เลือดสูบฉีด ส่งผลให้แผลสมานตัวช้าลง จึงควรงดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
  3. สมุนไพร ยาแผนโบราณ เนื่องจากในยาสมุนไพรบางชนิด มีสารประเภทสเตียรอยด์ที่ทำให้เลือดแข็งตัว จึงควรงดทั้งตอนก่อน และหลังการผ่าตัด 
  4. อาหารสุกๆ ดิบๆ เนื่องจากอาหารที่ไม่ผ่านความร้อนเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค และพยาธิ หากรับประทานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้
  5. อาหารที่แพ้อยู่แล้ว เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ตัวเองมีอาการแพ้ทำให้เกิดตุ้มคัน หรือผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งการเกาหรือสัมผัส อาจทำให้แผลติดเชื้อและเกิดการอักเสบได้

6. ห้ามสวมใส่เสื้อชั้นในแบบมีโครง

อีกหนึ่งข้อห้ามหลังเสริมอก คือการสวมใส่เสื้อชั้นในแบบมีโครง เสื้อในทรงโครงเหล็ก และปีกนก เพราะทำให้เกิดปัญหาการกดทับซิลิโคน และหน้าอกผิดรูปตามมาภายหลัง จึงควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อชั้นในเหล่านี้เป็นเวลา 1 ปี และใส่เป็นซัพพอร์ตบราแทน

7. หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อน

ความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเหงื่อ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้แผลเกิดการติดเชื้อ และเกิดการอักเสบได้ ดังนั้น ในช่วงแรกที่แผลผ่าตัดเสริมหน้าอกยังไม่สมานดี ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอาการร้อน และงดการทำซาวน่า หรืออบไอน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หลังการผ่าตัด
อยากทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก ต้องดูอะไรบ้าง

อยากทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก ต้องดูอะไรบ้าง

การเสริมหน้าอกถือเป็นการผ่าตัดที่มีการวางยาสลบ ฉีดยาช้า และใช้เวลาหลายชั่วโมง จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการผ่าตัดอย่างรัดกุม ดังนั้น นอกจากศึกษาข้อมูล ขั้นตอนการเสริมหน้าอก ขั้นตอนในการดูแลตัวเอง และข้อห้ามหลังเสริมอกแล้ว คนที่อยากเสริมหน้าอกยังต้องให้ความสำคัญกับการเลือกคลินิกเสริมหน้าอก โดยควรเลือกคลินิกที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข มีความสะอาด พร้อมควบคุมดำเนินการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมหน้าอก และวิสัญญีแพทย์เฉพาะทาง นอกจากนี้ ก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก ควรตรวจสอบชนิดของซิลิโคนที่คลินิกเลือกใช้ ซึ่งต้องเป็นซิลิโคนที่ได้รับรองคุณภาพ และความปลอดภัยจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขด้วย
ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกกับ Jarem Clinic ดีกว่ายังไง

ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกกับ Jarem Clinic ดีกว่ายังไง

สำหรับคนที่กำลังวางแผนเสริมหน้าอกเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเสริมหน้าอกที่ไหนดี Jarem Clinic เราเป็นคลินิกศัลยกรรมมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ทุกขั้นตอนดำเนินโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมหน้าอก ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด วางแผนการผ่าตัด ดำเนินการผ่าตัดร่วมกับวิสัญญีแพทย์เฉพาะทางในทุกขั้นตอนด้วยเทคนิคเฉพาะของ Jarem Clinic ทำให้แผลผ่าตัดมีความสวยงาม เรียบเนียน และเล็กเพียง 3 เซนติเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีบริการติดตามผลหลังผ่าตัด ซึ่งหากสนใจสามารถรีวิวศัลยกรรมเสริมหน้าอกได้ที่ รีวิวศัลยกรรมเสริมหน้าอก

จากข้อมูลทำให้สรุปได้ว่าอาการหลังเสริมอก ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บ ปวด ตึงแผลผ่าตัดเต้านม ถือเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด และสามารถหายได้เองเมื่อแผลผ่าตัดหายดีและหน้าอกใหม่เข้าที่ ซึ่งการที่แผลจะหายเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับดูแลตัวเองและการปฏิบัติตามข้อห้ามหลังเสริมอกอย่างเคร่งครัด เพียงเท่านี้ก็จะได้หน้าอกสวยอย่างที่ใจต้องการ

บทความโดย

นพ. พลเดช สุวรรณอาภา

ศัลยแพทย์ เฉพาะทางเสริมหน้าอก

บทความเกี่ยวข้อง