คำถามที่ผู้หญิงอยากรู้ ทำนมแล้วให้นมบุตรได้ไหม?

ปกบทความทำนมแล้วให้นมบุตรได้ไหม

ศัลยกรรมเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนแล้วให้นมบุตรได้ไหม?

เป็นคำถามสำคัญสำหรับผู้หญิงเลยครับ ก่อนอื่นต้องมาเรียนรู้กันก่อนว่าน้ำนมแม่มาจากไหน?

นมแม่

น้ำนมแม่ก็คือส่วนที่ผลิตมาจากต่อมน้ำนมในเนื้อนมของเราเอง ฉะนั้นการผ่าตัดใดๆที่เราไม่ไปยุ่งกับ “ต่อมน้ำนม หรือ ทางเดินของต่อมน้ำนม ถึงหัวนม” ก็ไม่มีปัญหานะครับ

หลังจากศัลยกรรมเสริมหน้าอกแล้วจะให้นมบุตรได้ไหม?

หมอขอสรุปเป็นทีละข้อๆ ว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการให้นมบุตร

Q : ตำแหน่งการวางซิลิโคน เหนือกล้ามเนื้อ กับ ใต้กล้ามเนื้อ?

เสริมเหนือกล้ามเนื้อหรือใต้กล้ามเนื้อก็สามารถให้นมบุตรได้ทั้งคู่ แต่เสริมใต้กล้ามเนื้อจะปลอดภัยกว่าเพราะซิลิโคนไม่ไปเบียดต่อมน้ำนม และการเสริมแบบ “เหนือกล้ามเนื้อ” ซิลิโคนจะวางอยู่ใต้ต่อมน้ำนมพอดี ถ้าหมอผ่าตัดได้ไม่เนียนหรือคนไข้ดูแลตัวเองได้ไม่ดีช่วงมีน้ำนม นมขยาย ซิลิโคนนมจะเบียดต่อมน้ำนมมากขึ้น อาจจะทำให้นมเสียทรงและเจ็บได้

Q : แผลผ่าตัด รักแร้ ใต้ราวนม ปานนม?

ผ่าตัดทางรักแร้หรือใต้ราวนม จะ “ดี” กว่าผ่าตัดเสริมหน้าอกทางปานนม เพราะถ้าผ่าตัดทางปานนมมีความเสี่ยงที่จะไปถูกท่อน้ำนมได้มากกว่าสองวิธีแรก

Q : ขนาดไซส์ซิลิโคนที่ใส่มีผลต่อการให้นม?

ใส่ขนาดใหญ่ๆมากๆเวลามีน้ำนมจะคัดมากอาจทำให้เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกได้ในบางราย

ซิลิโคนเสริมหน้าอก
ซิลิโคนเสริมหน้าอก
ปฏิทิน

Q : ซิลิโคนที่ใส่เข้าไปจะซึมเข้ามาในน้ำนมขณะให้นมลูกไหม?

จากการทดลองนำน้ำนมจากแม่ที่เสริมหน้าอกกับไม่เสริมหน้าอกมาตรวจ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันครับปลอดภัย สบายใจได้

Q : หลังเสริมหน้าอกไปแล้วนานเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัยให้นมบุตรได้?

ส่วนตัวแนะนำหลังเสริมยังไม่ควรตั้งครรภ์ครับ รอให้หน้าอกเข้าที่สักระยะ เวลาที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับความเห็นแพทย์แต่ละท่าน ส่วนตัวหมอให้รอประมาณ 1 ปีครับ

ฟิลเลอร์

Q : แล้วกรณีฉีดสารแปลกปลอมเข้าไปในนมเพื่อขยายขนาด สามารถให้นมบุตรได้ไหม?

หากฉีดเป็นไขมันตัวเองและฉีดถูกวิธีสามารถให้นมบุตรได้ครับ ถูกวิธี คือ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องฉีดไขมันจะฉีดในช่องทางที่ไม่ได้ไปรบกวนต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนม แบบนี้ OK ปลอดภัย แต่ถ้าฉีด “ฟิลเลอร์” “หมอกระเป๋า” แบบนี้ไม่รับประกันครับ ควรไปตรวจ X-Ray MRI ที่ รพ.ก่อนจะดีกว่า

สรุป

สำหรับ “ศัลยกรรมหน้าอกโดยการใส่ซิลิโคน” หากกังวลเรื่องให้นมบุตร หมอแนะนำให้ศัลยกรรมด้วยวิธีเสริมใต้กล้ามเนื้อ แผลทางรักแร้หรือใต้ราวนมก็ได้ และขนาดไซส์ที่กำลังพอดีไม่ใหญ่เกินไปครับ

หากท่านใดยังมีข้อสงสัย หรือต้องการตรวจหน้าอก ปรึกษาทำหน้าอก สามารถมาพบผมได้นะครับที่จาเรมคลินิก

บทความโดย

นพ. พลเดช สุวรรณอาภา

ศัลยแพทย์ เฉพาะทางเสริมหน้าอก

"เสริมหน้าอกแล้ว สามารถให้นมบุตรได้เป็นปกติ แต่มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เสริมหน้าอกทาง"ปานนม" แผลอาจจะไปตัดโดนท่อน้ำนมได้ ทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวก และไม่ว่าจะเสริมหน้าอกวิธีใดๆก็ตาม ไม่ควรมีบุตรทันที ควรเว้นระยะออกไปสัก1ปีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้หน้าอกเข้าที่เสียก่อน"

บทความเกี่ยวข้อง